Smoke detector


คุณสมบัติ :
  • เป็นตัวตรวจจับควันแบบ Photoelectric
  • ทำงานด้วย แบตเตอร์รี่ ขนาด 9VDC
  • Operation Current <10  Alarm state 20-30 mA
  • มี buzzer ในตัว สามารถส่งเสียงด้วยตัวเอง 85dB @ 10 ft
การใช้งาน : ใช้ตรวจจับควันที่เกิดจากเพลิงไหม้
หลักการทำงาน
โดยทั่วไป Smoke detector (ตัวจับควัน) ที่ใช้ในบ้านหรือสำนักงาน จะมี 2 ชนิดคือ แบบ Ionization และแบบ Photoelectric
แบบ Ionization จะมีคุณสมบัติในการตรวจจับที่ไว และจับควันที่มีอนุภาคเล็กๆ ระหว่าง 0.01-0.4 ไมครอนได้ดี ซึ่งมักจะเกิดจากการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว เช่น การไหม้ของกระดาษ หรือสารไวไฟ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่เมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่นที่สะสมในช่องดักควันของตัวมันจะทำให้ตัวมันทำงานไวเกินไป หรือทำงานผิดผลาดได้
แบบ Photoelectric เหมาะสำหรับการจับควันที่มีอนุภาคระหว่าง 0.4-10 ไมครอน ซึ่งมักจะเกิกจากการเผมไหม้อย่างช้าๆ เช่น การไหม้ที่เกิดจากการทิ้งบุหรี่ลงบนพรม หรือเตียงไฟจะคร่อยๆครุ และเกิดควันดำมากขึ้นเลื่อยๆ ความผิดผลาดจากความสกปรกจากฝุ่นจะน้อยกว่า แต่ความไวในการตรวจจับก็ช้ากว่าแบบ Ionization


จากรูปข้างบน เป็นการทำงานของตัวจับควันแบบใช้แสง
เมื่อวัสดุติดไฟถูกเผาไหม้อย่างช้าๆ ควันที่ได้จะมีควันดำปริมาณมากและจะลอยขึ้นด้านบน ค่อยๆกระจายไปบนเพดาน หากปริมาณควันเข้าไปในช่องดักควันของตัวจับควันมากพอ จะทำให้แสงจากตัวส่องแสงไปตกกระทบที่ตัวรับแสงลดลง ทำให้วงจรอีเลคโทรนิคส์ภายในตรวจได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
ข้อเสียของการตรวจจับแบบนี้คือ เมื่อมีฝุ่นสะสมภายในช่องดักควันมากๆ จะทำให้ตัวยิงแสงและตัวรับแสงสกปรก จะทำให้มันทำงานผิดผลาด จึงมีการพัฒนาใช้เทคนิคการกระเจิงของแสงมาทดแทนตามรูปข้างล่าง


แทนที่จะยิงแสงไปที่ตัวรับแสงโดยตรง จะอาศัยการกระเจิงของแสงที่เกิดจากควันแทน ในสภาวะปกติ ถ้าไม่มีควันภายใน แสงจะสะท้อนไปตกที่ตัวรับแสงน้อยมาก แต่เมื่อมีควันเข้าไปสะสมจนทำให้ปริมาณแสงที่สะท้อนจากตัวควันไปยังตัวรับแสงมากพอ วงจรอีเลคโทรนิคส์ภายในก็จะตรวจจับได้ ทำให้แก้ปัญหาเรื่องฝุ่นไปได้ระดับนึง แต่จะมีปัญหาหากนำไปติดใกล้หลอดไฟแบบฟูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบมากเกินไป แสงอินฟราเรดจากหลอดไฟอาจสะท้อนเข้าไปภายในได้ทำให้เกิดความผิดผลาด

แหล่งที่มา http://www.grandmthai.com/index.php/wireless-alarm-products/detector/19-smoke-detector

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น